วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม


พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน

      พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
 ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน     อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี  เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
     ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1.   ยุคทวารวดี  ระหว่าง  พ.ศ. 1000-1200
2.   ยุคลพบุรี     ระหว่าง  พ.ศ. 1600-1800
     ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น  ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา  วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน     เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ
1.   ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2.   ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
     พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530   โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530

แหล่งที่มา : http://www.tongteawthai.com/ไปเที่ยวพระธาตุนาดูน/772.html


















วีดีโอประวัติพระธาตุนาดูน 

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

ทำไม? คณะการบัญชีและการจัดการ ถึงขึ้นเป็นอันดับ 1 Admission


คณะการบัญชีและการจัดการ มมส คณะยอดนิยมอันดับ1 แอดมิสชั่นส์ ปี 59






รองศาสตราจารย์ ดร.ปพฤกษ์บารมี อุตสาหะวาณิชกิจ คณบดีคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และตัวแทนนิสิตของคณะฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 นำโดย คุณชญตร์ มุกดาหาร ผู้สื่อข่าวช่อง 3 ในวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2559

โดย คณบดีคณะการบัญชีและการจัดการ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ อันดับคณะ/สาขาวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด ในระบบ Admission ประจำปีการศึกษา 2559 ซึ่งหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษามากที่สุดอันดับที่ 1 ของประเทศ มากกว่า 1,405 คน และระบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศทางด้านบริหารธุรกิจอันดับหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้ ได้สัมภาษณ์นิสิตคณะการบัญชีและการจัดการ 2 คน ที่ผ่านการสอบคัดเลือก และได้เข้ามาศึกษา และสัมผัสกับบรรยากาศการเรียนการสอนในคณะด้วยความประทับใจและความภาคภูมิใจ

บรรยากาศการแนะแนวการศึกษาปี 2560


บรรยากาศกการสัมภาษณ์นิสิต ปี 2559



มีการจัดอบรมหลากหลายโครงการให้ประโยชน์กับนิสิต











วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ



คณะการบัญชีและการจัดการ
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ



ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556)
Bachelor of Business Administration Program in Business Computing


ชื่อปริญญา

                      ชื่อเต็ม
บริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computing)
                       ชื่อย่อ
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computing)
 

โครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า    133   หน่วยกิต
โครงสร้างหรือองค์ประกอบของหลักสูตร

 - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
- หมวดวิชาเฉพาะ
     ก. กลุ่มวิชาแกน
     ข. กลุ่มวิชาเอก
        - กลุ่มวิชาเอกบังคับ
        - กลุ่มวิชาเอกเลือก
-  หมวดวิชาเลือกเสรี
-  การฝึกงาน
ไม่น้อยกว่า
ไม่น้อยกว่า

ไม่น้อยกว่า

ไม่น้อยกว่า
ไม่น้อยกว่า
30
97
48
49
34
15
6
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
นิสิตจะต้องผ่านการฝึกงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศธุรกิจในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง (ไม่นับหน่วยกิต) หรือ สหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง (ไม่นับหน่วยกิต)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร




ปรัชญาของหลักสูตร


      มุ่งผลิตบุคลากรทางด้านบริหารธุรกิจ ให้มีความรอบรู้และความเข้าใจในศาสตร์และวิวัฒนาการ ทางการบริหารธุรกิจ โดยเน้นความเป็นสากลด้านหลักการและแนวคิดบริหารธุรกิจ สามารถเรียนรู้นวัตกรรมทางบริหารธุรกิจและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม และสามารถประยุกต์วิทยาการ ด้านบริหารธุรกิจให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติได้


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร



เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.      เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจที่เป็นสากล มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม และสามารถประยุกต์ความรู้ทางวิชาการ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
2.      เพื่อส่งเสริมและสร้างสรรค์งานวิจัยให้เกิดนวัตกรรมและทฤษฎีใหม่ที่มีคุณค่าทางวิชาการบริหารธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศและสากล
3.      เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีจิตสำนึกต่อจริยธรรมและคุณธรรมทางวิชาการ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคม







คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา


1.    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขา
2.    ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 ตามข้อบังคับหมวด 5 ข้อที่ 17 (รายละเอียดแสดงในเอกสารแนบ ข) หรือเป็นไปตาม ดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชา พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
3.   3 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตถ้าไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้านสาขาบริหารธุรกิจต้องเรียน ในรายวิชาปรับพื้นฐาน ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ


การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา


       การศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาในระบบปกติและระบบพิเศษแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ดังต่อไปนี้


1.   รับจากการสอบคัดเลือกตรงของคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2.   ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 ตามข้อบังคับหมวด 5 ข้อที่ 17 (รายละเอียดแสดงในเอกสารแนบ ข)


ระบบการศึกษา


       การศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มีการจัดการศึกษาเป็น 2 ระบบ ดังนี้


1.             ระบบปกติ ใช้ระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็นภาคเรียนปกติ 2 ภาค คือ ภาคต้น และภาคปลาย มีระยะเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และมีภาคฤดูร้อน ต่อจากภาคปลาย
2.             ระบบพิเศษ เป็นการจัดการศึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการ ใช้ระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่ง แบ่งออกเป็นภาคเรียนปกติ 2 ภาค คือ ภาคต้น ภาคปลาย และมีภาคฤดูร้อน ต่อจากภาคปลาย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 หมวด 3 ข้อ 11 (รายละเอียดแสดงในเอกสารแนบ ข)


ระยะเวลาการศึกษา


       หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมีระยะเวลาการ ศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องเรียนสำเร็จตามหลักสูตรภายใน 10 ภาคการศึกษาปกติ โดยนับตั้งแต่วันที่มหาวิทยาลัยรับเข้าเป็นนิสิต หากพ้นระยะเวลาที่กำหนดถือว่าพ้นสภาพการเป็นนิสิต ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 หมวด 4 ข้อ 16 (รายละเอียดแสดงในเอกสารแนบ ข)



การลงทะเบียนเรียน


       นิสิตที่เรียนในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 9 หน่วยกิต และอย่างมากไม่เกินภาคการศึกษาละ 15 หน่วยกิต ในภาคการศึกษาปกติ ในกรณีที่ต้องลงทะเบียนต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะฯ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พุทธศักราช 2548 หมวด 6 ข้อ 23-30 (รายละเอียดแสดงในเอกสารแนบ ข)



หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ จัดการศึกษาออกเป็น 2 แผน คือ

  •  แผน ก (2) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 พร้อมทั้งสอบผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิต วิทยาลัยแต่งตั้ง และผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารอย่างเป็นทางการ หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีผู้ประเมิน (Peer review) ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาคณะการบัญชีและการจัดการเห็นชอบ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีรายงานการ ประชุม (Proceeding) ฉบับเต็ม
  •  แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00 พร้อมทั้งต้องสอบผ่านการสอบการศึกษาค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive examination) ด้วยข้อเขียนและปากเปล่า